"ดนตรีบำบัด" กำจัดความเครียด

“ดนตรีบำบัด” กำจัดความเครียด

“ดนตรีบำบัด” กำจัดความเครียด ดนตรีบำบัด ได้รับความนิยม มาเป็นระยะเวลานาน ในทางการแพทย์ ดนตรีบำบัดถูกนำมาใช้ เป็นระยะเวลานานแล้ว โดยมีความเชื่อกันว่า ดนตรีจะช่วยให้คนฟังผ่อนคลาย จากอาการเจ็บป่วย และจากความกังวล หรือ ลดความเครียด นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ศึกษา ในเรื่องของการฟังดนตรีบำบัด ของผู้ป่วยก่อนที่จะเข้ารับการผ่าตัด ว่าช่วยลดความเครียด และความกังวลได้ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดลดลงมากกว่า การใช้ยาลดความเครียด

การฟังดนตรี ยังช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย โดยช่วยปรับให้อารมณ์สงบขึ้น ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เรียกได้ว่าดนตรีบำบัด เปรียบเหมือนยา ที่มีผลกับจิตใจ ช่วยกระตุ้นสมอง ปรับระดับ Cortisol ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด ให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลายได้ ดนตรีที่ใช้บำบัดนั้น ไม่ได้ถูกจำกัดว่า จะต้องเพลงบรรเลง หรือเสียงธรรมชาติเท่านั้น เพลงทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น คลาสสิค แร๊ป ลูกทุ่ง ฮิพฮอพ ฯลฯ ก็ช่วยให้ผ่อนคลายได้หมด ขึ้นอยู่กับความชอบ ใครฟังเพลงอะไรแล้ว รู้สึกร่วมไปกับเพลงที่ฟังมากกว่า

กิจกรรมดนตรีคลายเครียด

ปัจจุบันมีการใช้ดนตรีบําบัด โรคทางจิตเวช ยกตัวอย่าง พฤติกรรมถดถอย แยกตัวที่เป็นอาการในลักษณะเรื้อรัง สามารถใช้ดนตรีบําบัดได้ ดังนี้

• เปิดเพลงจังหวะเร้าใจ

• ขยับตัวเข้าจังหวะ

• ใช้ดนตรีแบบเคาะจังหวะ

• ใช้อุปกรณ์เกิดเสียงให้ผู้ป่วยได้เขย่า หรือ ฟังเพลง

• บอกถึงความรู้สึกที่ได้จากเพลง

• ทําตามนี้ครั้งละ 1-1.30 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

หากทําได้ตามนี้ ผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างรวดเร็วในชั่วโมงที่ 2 ของการบําบัด ผู้ป่วยที่รู้สึกเหงา เศร้าจะยิ้มแย้มได้หลังจากไม่เคยยิ้มมานานอีกด้วย

7 ประโยชน์จากดนตรีบำบัด

1. เพิ่มคุณภาพชีวิต

2. การจัดการความเครียด

3. การกระตุ้นความจำ

4. เพิ่มทักษะการสื่อสาร

5. บรรเทาอาการเจ็บปวด

6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

7. ส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม

ดนตรีไม่ป่วยก็ฟังได้

คนที่ใช้ดนตรีบำบัดไม่จำเป็นว่า จะต้องป่วยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะดนตรีบำบัด นอกจากจะช่วยผ่อนคลาย ความเครียดแล้ว ดนตรียังช่วยพัฒนา และผลักดันศักยภาพรวม ถึงทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เช่น การทำกายภาพบำบัด ควบคู่กับการทำดนตรีบำบัด ดังนั้น คนที่มีอาการเครียด แต่ยังไม่ถึงกับมีอาการซึมเศร้า ก็สามารถใช้ดนตรีบำบัด ในการผ่อนคลายได้เช่นเดียวกัน แต่การใช้ดนตรีบำบัด ก็แตกต่างกับการฟังดนตรีทั่วไป เพราะการบำบัด จำเป็นต้องให้คนฟังที่บำบัดเข้าถึง และมีสัมพันธภาพทางการบำบัด มีความสัมพันธ์กับเพลง เกิดความเชื่อใจ และมีเป้าหมาย ในการบำบัดชัดเจน

สุดท้ายแล้ว การที่เราเลือกใช้ดนตรีบำบัด ในการช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดนั้น อาจจะไม่ได้อยู่ที่ว่า เราจะใช้ดนตรีอะไรในการบำบัด แต่อาจจะเป็นเราจะเลือกใช้ดนตรีอย่างไร ในการบำบัดมากกว่า เพราะการบำบัดด้วยดนตรี อาจจะต้องดูความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ด้วยว่า คนที่จะบำบัดเกิดความเครียดจากอะไร และเขามีความชื่นชอบเพลงประเภทไหน การฟังเพลงคลาสสิค หรือเพลงบรรเลงฟังสบาย อาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ หรือช่วยเยียวยาให้เขาดีขึ้น เราเพียงต้องเลือกให้เหมาะสม และค่อย ๆ ปรับเพลงให้เหมาะกับการบำบัด ผ่อนคลายความเครียด บทความเพิ่มเติม SALVATOR MUNDI ภาพวาดราคาสูงที่สุดของ “ดา วินชี”

บทความน่ารู้ อื่น ๆ : รู้รอบเรื่อง ระบบสุริยะ